ร้อยไหม ตัวช่วยที่ทำให้ใบหน้า กลับมาเต่งตึงและดูอ่อนเยาว์

ร้อยไหม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีช่วยยกกระชับผิวให้เต่งตึงและดูอ่อนเยาว์โดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด ปัจจุบันหลาย ๆ คลินิกใช้กันจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ร้อยไหมก้างและร้อยไหมเรียบ

1.ร้อยไหมก้าง เห็นผลการยกกระชับหลังร้อยทันทีประมาณ 50% ของฤทธิ์ในการยกกระชับทั้งหมด โดยจะเห็นผลการยกกระชับครบ 100% เมื่อไหมละลายหมดที่ 1-3 เดือน ส่วนตัวไหมจะเริ่มละลายที่ 1 เดือน และละลายหมดที่ 3 เดือน มีฤทธิ์ในการยกกระชับดึงใบหน้าให้เรียวตึง อยู่ได้นาน 8 เดือน – 1 ปี ซึ่งการร้อยไหมก้างทั่วไปสามารถอยู่ได้นานถึง 1 ปี หากเป็นไหม Diamond จะสามารถอยู่ได้นานตั้งแต่ 2-5 ปี ซึ่งทำให้ลดอัตราการร้อยซ้ำได้

2.ร้อยไหมเรียบ ผลลัพธ์ด้านความแน่นเฟิร์มจะเห็นทันทีหลังร้อย 20% และจะเห็นผลลัพธ์ทั้งหมด 100% ของการร้อยไหมเมื่อไหมละลายประมาณ 1-2 เดือน มีฤทธิ์ช่วยให้ผิวแน่นเฟิร์ม กระตุ้นการสร้างคอลเลาเจนใต้ผิว อยู่ได้นาน 4 – 6 เดือน

การร้อยไหมมีประโยชน์อย่างไร

การร้อยไหมเป็นวิธียกกระชับผิวหน้า ช่วยแก้ปัญหาผิวหนังบนใบหน้าหย่อนคล้อย ริ้วรอยเหี่ยวย่นบริเวณแก้ม ร่องจมูก ขากรรไกร หน้าผาก โดยใช้ไหมละลายจำนวนหลายเส้นร้อยเข้าไปในใต้ผิวหนัง การทำเช่นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวและมีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่บริเวณรอบเส้นไหม ทำให้ผิวหน้าถูกดึงรั้งจนเต่งตึง ทั้งยังช่วยให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงผิวหนังบริเวณดังกล่าวมากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ไหมละลาย PDO ทำจากโพลีไดออกซาโนน (Polydioxanone) ซึ่งใช้ในการเย็บแผลผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ มักไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ไหมจะค่อย ๆ สลายตัวไปเองภายใน 8 เดือน

Thread Lift ร้อยไหม เป็นอย่างไร ไปดูกัน

ใครที่สามารถทำร้อยไหมได้บ้าง

ส่วนใหญ่แล้วจะเหมาะกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปีขึ้นไป โดยเนื้อเยื่อต้องไม่ยุบตัวหรือผิวหนังต้องไม่หย่อนคล้อยมากเกินไป เพราะหากผิวหนังหย่อนมากเนื่องจากอายุหรือมีน้ำหนักตัวมาก อาจต้องใช้วิธีอื่นเข้าร่วมถึงจะได้ผล

ก่อนเข้ารับการร้อยไหม

การร้อยไหมเป็นเทคนิคการยกกระชับหน้าที่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้ที่ต้องการใช้วิธีนี้ควรศึกษาข้อมูลสถานให้บริการที่น่าเชื่อถือและผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย ขั้นตอนแรกคือการพูดคุยปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับราคา ขั้นตอน ผลข้างเคียง ความเสี่ยง และผลลัพธ์ที่คาดหวัง รวมถึงประเมินความเหมาะสมของคนไข้ต่อการร้อยไหม ก่อนการรักษา ผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาต้องหยุดการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS ได้แก่ Brufen, Naproxen, Motrin, ASA วิตามินอี น้ำมันตับปลา เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อลดการฟกช้ำ

กระบวนการร้อยไหม

  • ทายาชาบริเวณใบหน้า 30-45 นาที โดยแพทย์อาจเพิ่มการฉีดยาชาเฉพาะจุด
  • ทำความสะอาดให้ทั่วใบหน้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หลังจากขั้นตอนทาและฉีดยาชา แพทย์จะสอดเส้นไหมเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอย่างระมัดระวัง เส้นไหมจำนวนหลายเส้นที่สอดเข้าไปนี้จะนำมาซึ่งกลไกการยกกระชับผิว
  • แพทย์ร้อยไหมละลายเข้าไปยึดตามเนื้อเยื่อผิว โดยจะใช้วิธีร้อยเรียงเส้นไหม ในเวลาเพียง 30- 60 นาทีหลังจากร้อยไหมแล้ว อาจมีการเพิ่มแรงดัน บริเวณใบหน้าด้วยการกดเบา ๆ ทั่ว ๆ ใบหน้า ร่วมกับการประคบเย็น เพื่อลดการไหลออกของเลือด ทำให้การ เกิดการเขียวช้ำลดลง เป็นเวลา 10-15 นาที เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการร้อยไหม
  • แพทย์จะจัดยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ กลับไปรับประทานต่อที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์
  • โดยผลลัพธ์จะคงอยู่ประมาณ 1-2 ปี และอาจเริ่มกลับมาหย่อนคล้อยเล็กน้อยหลังจาก 6 เดือนแรก ทำให้อาจต้องเข้ารับการร้อยไหมอีกครั้งเพื่อคงผลลัพธ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยทั่วไปใบหน้าของผู้เข้ารับการร้อยไหมอาจบวมในตอนแรก และกลับมาดูเป็นปกติภายในประมาณ 24-48 ชั่วโมง แต่บางรายอาจปรากฏรอยพับหรือรอยย่นของผิวหนังเป็นเวลาหลายสัปดาห์ได้

Thread Lift ร้อยไหม วิธีปฏิบัติตัว หลังการรักษา

หลังการรักษาด้วยไหม

  • เลี่ยงการใช้สารที่มีส่วนผสมของ BHA, AHA และ Retinoid 2 สัปดาห์
  • เลี่ยงการออกกำลังกายจัดๆ การอยู่ในที่ร้อน เช่น ซาวหน้า อบไอน้ำ และเลี่ยงแดดจ้า
  • งดทานยาหรือวิตามินที่ทำให้เลือดออก เช่น แอสไพริน Vitamin E, ใบแป๊ะก๊วย
  • งดการทำ Treatment ทุกชนิดบนใบหน้าเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • กลับมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาตามเวลานัดทุกครั้ง

ผลข้างเคียงจากการร้อยไหม

  • เมื่อยาชาหมดฤทธิ์จะมีความรู้สึกเจ็บและไม่สบายใบหน้า นอกจากนี้ อาจมีอาการบวม ฟกช้ำ เกิดการเคลื่อนตัวของไหม ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้มักหายไปเองเมื่อผ่านไปหลายวัน แต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากเกิดการติดเชื้อ เพราะอาจเกิดเชื้อดื้อยาและยากต่อการรักษา
  • ไหมเส้นเรียบที่ไม่มีเงี่ยงหรือเกลียวอาจทำให้มีอาการฟกช้ำ ส่วนไหมที่มีเงี่ยงนั้นอาจทิ้งรอยสอดไหมไว้ให้เห็นได้

ภาวะแทรกซ้อนของการร้อยไหม

  • เกิดความไม่เท่ากันของใบหน้าจากการร้อยไหมได้ แพทย์จึงอาจให้ผู้ป่วยส่องกระจกไปด้วยในระหว่างทำเพื่อสังเกตความผิดปกติดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น
  • การติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้น้อย
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อเนื่องจากไหมจะถูกร้อยลงไปที่บริเวณผิวหนังชั้นค่อนข้างลึก จึงเสี่ยงทำให้เกิดกลุ่มเนื้อเยื่อที่อักเสบขึ้นได้
  • ไหมหลุดออกมาหลังจากสอดเส้นไหมเข้าไปใต้ผิวหนัง แพทย์จะตัดปลายไหมส่วนเกินออก เพราะหากไหมยื่นออกมา คนไข้อาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อและการอักเสบของเนื้อเยื่อตามมา