โควิดสายพันธุ์เดลต้า

โควิดสายพันธุ์เดลต้า เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว่าโควิดสายพันอื่น ๆ และโควิดสายพันอื่น ๆ ก็สามารถกลายพันเป็นสายพันธุ์เดลต้าได้ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้น จะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป โควิดสายพันธุ์เดลต้ายังเป็นที่จับตามองต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทยเนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย

โควิดสายพันธุ์เดลต้าคืออะไร

คือโรคโควิดที่น่ากลัว โดยเกิดขึ้นจากประเทศอินเดีย โดยโรคโควิดสายพันอินเดียมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า B.1.617.2 โดยพบครั้งแรกในประเทศอินเดียและเป็นที่น่าจับตามองในประเทศไทย ณ เวลานี้ นอกจากนี้ยังมีการพบการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) ที่มีการกลายพันธุ์บริเวณหนาม K417N ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย และหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีอีกด้วย

โควิดสายพันธุ์เดลต้า

อาการของโรคโควิดสายพันธุ์เดลต้ามีอาการเป็นอย่างไร

การติดเชื้อของโรคโควิด 19 นั้นมีอยู่หลายสายพัน แต่อาการของโรคมักจะมีความใกล้เคียงกัน แต่สำหรับเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา ได้แก่ ปวดศีรษะ เจ็บคอ มีน้ำมูกไหล และไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส นอกจากนี้ยังพบอาการตามการฉีดวัคซีนได้เช่นกัน

อาการโควิดเดลต้าในผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีน : เป็นไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอบ่อย และปวดศีรษะ

อาการโควิดเดลต้าในผู้ที่รับวัคซีน 1 โดส : เจ็บคอ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอบ่อย และจาม

อาการโควิดเดลต้าในผู้ที่รับวัคซีน 2 โดส : ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ จาม และสูญเสียการได้กลิ่น

ทังหมดนี้เป็นอาการของโรคโควิด 19 ที่คุณสามารถดูอาการได้เอง หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็นโรคโควิด 19

โควิดสายพันธุ์เดลต้าติดง่ายจริงหรือไม่

เชื่อไวรัสโควิด 19 สายพันเดลต้า เป็นเชื้อโควิดที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว่าเชื้อโควิดปกติประมาณ 50 % ต้องมีการตรวจโควิด แต่สำหรับโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษประมาณ 60 % อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังเปิดเผยว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายได้แม้ไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วย หรืออยู่ใกล้ผู้ป่วยตลอดเวลา

วัคซีนที่สามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้

สำหรับเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มาจากสายพันธุ์เดลต้า เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี และจากผลการทดลองยืนยันว่าวัคซีนประเภท mRNA (ไฟเซอร์, โมเดอร์นา) และประเภทวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะมีประสิทธิภาพในการรับมือได้ดีกว่าวัคซีนชนิดอื่นดังนี้

วัคซีนโมเดอร์นา

เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้หลังจากได้รับครบ 2 โดส แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าป้องกันได้มากแค่ไหน

วัคซีนไฟเซอร์

เป็นวัคซีนที่มีการคาดการณ์ว่าสามารถรับมือกับโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ใกล้เคียงกับวัคซีนโมเดอร์นาเนื่องจากเป็นวัคซีนประเภท mRNA เหมือนกัน

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

จากข้อมูลของสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (PHE) หลังได้รับครบ 2 เข็มสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ประมาณ 64 %

วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

จากผลการทดลองของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เองพบว่าสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ประมาณ 8 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าป้องกันได้มากแค่ไหน

ในส่วนของวัคซีนซิโนแวคนั้นมีการยืนยันจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยว่าบริษัทซิโนแวคยังไม่มีผลการทดลองที่ยืนยันได้ว่าสามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนชนิดนี้ต่อสายพันธุ์อังกฤษนั้นน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น จึงอาจมีแนวโน้มว่าจะสามารถป้องกันการกลายพันธุ์สำหรับสายพันธุ์เดลต้าในประสิทธิภาพที่น้อยด้วยเช่นกัน

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลต้าในไทยเป็นอย่างไร

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดจากการระบาดของแคมป์คนงานหลักสี่ และด้วยความสามารถในการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิดสายพันธุ์เดลต้าจึงทำให้เป็นที่จับตามองและเป็นที่เฝ้าระวังในระดับสูง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในอีก 2-3 เดือนอาจมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากกว่าสายพันธุ์อังกฤษที่มีมากที่สุดในไทย ณ ขณะนี้ หากใครที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี ป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด เพราะในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคทำให้ไม่มีเตียงสำหรับการรักษา และทำให้ผู้คนที่เป็นโรคนี้เสียชีวิตกันมากขึ้นทุกวัน ทุกคนที่กำลังประสบกับปัญหาเหล่านี้ ต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้านเด็ดขาดเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและครอบครัว